ศิริราชปรับเปลี่ยนการเรียนแพทย์ พร้อมพลิกโฉมหลักสูตรตอบโจทย์ ผู้เรียน เริ่มปีการศึกษา 2564 เน้นสร้างแพทย์ที่เก่ง ดี มีความรู้ ความสามารถในสาขาอื่นอย่างหลากหลาย
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้มีการพัฒนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันสมัย และรองรับความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุค Digital Transformation โดยได้เริ่มใช้หลักสูตรใหม่ตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 โดยการเปลี่ยนแปลง จากหลักสูตรเดิมที่สำคัญมีดังนี้
1. หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรมุ่งผลลัพธ์ (outcome-based curriculum) เต็มรูปแบบ โดยกำหนดผลลัพธ์ของหลักสูตร (program learning outcome) ผลลัพธ์ของรายวิชา (course learning outcome) และผลลัพธ์ของช่วงชั้นต่างๆ (milestone) ที่สอดคล้องกัน การจัดการเรียนการสอนและการประเมินอิงตามผลลัพธ์ที่กำหนด การตัดสินผลการศึกษา ตลอดหลักสูตรเป็นแบบอิงเกณฑ์และเกรดของรายวิชาต่างๆ ในช่วงต้นของหลักสูตรเป็น แบบไม่มีแต้มประจำ (S-U) เพื่อลดความเครียดและการแข่งขันของนักศึกษา
2. รายวิชาต่างๆ ในหลักสูตร ได้รับการปรับปรุงให้กระชับและทันสมัย เช่น ในชั้นปีที่ 1 ได้ยุบรายวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา แคลคูลัส โดยจัดให้มีรายวิชา Scientific Inquiries for the 21st Century แทน เพื่อกระชับเนื้อหาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ช่วยให้นักศึกษาสามารถนำ ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนแพทย์ได้ดีกว่าเดิม นอกจากนั้น หลักสูตรยังเพิ่มรายวิชาที่ เกี่ยวข้องกับ Biomedical Engineering, ICT เพื่อให้นักศึกษามีความรู้กว้างขวางมากขึ้น เพิ่มายวิชา Health Systems Science เพื่อให้นักศึกษาแพทย์เข้าใจคนไข้และดูแลผู้ป่วยได้ดี กว่าเดิม เพิ่มรายวิชาวิจัย (Research) ในชั้นปีที่ 2-3-4 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และ ประสบการณ์ทำวิจัยในหลักสูตร และเพิ่มรายวิชาเลือกเสรี (Electives and Student Selected Modules) ทุกชั้นปี รวม 20 หน่วยกิต เพื่อให้นักศึกษาเลือกเรียนวิชาต่างๆ ที่สนใจอย่างอิสระ
3. คณะฯ เชื่อว่าบัณฑิตแพทย์ในยุคปัจจุบันควรมีความรู้อย่างลึกซึ้ง นอกเหนือจาก วิชาแพทย์ อีกอย่างน้อย 1 สาขา หรือที่เรียกว่า Pi-shaped graduates ศิริราชจึงสนับสนุน ให้นักศึกษาแพทย์ที่มีศักยภาพสูงสามารถเลือกเรียนสาขาอื่นที่สนใจในระดับปริญญาโทควบคู่ ไปในระหว่างเรียนแพทย์ได้ จนอาจสำเร็จการศึกษาได้ 2 ปริญญา โดยใช้เวลาเรียน 6 ปีเท่าเดิม เราจึงเรียกหลักสูตรใหม่นี้ว่า “Hybrid Program 61” ซึ่งคณะฯ มีความร่วมมือในการผลิต บัณฑิตร่วมกับกับคณะ/วิทยาลัยอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยการจัดการ รวมทั้ง หลักสูตรระดับปริญญาโทอื่นๆ ของคณะฯ เช่น หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (ภาคพิเศษ) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีว การออกแบบทางการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) และหลักสูตรปริญญาโทของมหาวิทยาลัย ชั้นนำในต่างประเทศ เช่น Oregon Health & Science University, University of Western Australia
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ที่เริ่มใช้ในปีการศึกษา 2564 หรือที่ เรียกว่า “Hybrid Program 61” ที่มุ่งผลิต Pi-shaped graduates จึงเป็นหลักสูตรที่ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่จะเป็นสถาบันทางการแพทย์ ของแผ่นดิน เพื่อสร้างสรรค์สุขภาวะแก่มวลมนุษยชาติ อีกทั้งสอดคล้องกับพันธกิจคณะฯ ในการเป็นผู้นำและผู้ชี้นำทางการแพทย์ ที่ได้รับความเชื่อถือระดับสากล และสร้างองค์ความรู้ที่ เป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์ระดับประเทศและระดับโลก โดยมีเป้าหมายคือการผลิตบัณฑิต ทุกระดับให้มีคุณภาพ มีศักยภาพเป็นผู้นำ และมีความสามารถหลากหลาย เพื่อสร้างผลงานที่ดี และตอบสนองต่อความต้องการในอนาคต
Hybrid Program เรียนหมอ 6 ปี ได้ 2 ปริญญา l Behind The กาวน์

“คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ผนึกความร่วมมือกับ 4 คณะในรั้วมหาวิทยาลัย เดียวกันและ 2 สถาบันการศึกษาชั้นนำต่างประเทศ พลิกโฉมการเรียนแพทย์ เปิดหลักสูตรใหม่ Hybrid Program 6 ยกกำลัง 1 ในระยะเวลา 6 ปี เรียน ป.ตรีควบป.โท จบแล้วรับ 2 ปริญญา เพื่อสร้างบัณฑิตแพทย์ให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เป้าหมายหลักของ การเรียนการสอนยังคงมุ่งสร้างบัณฑิตให้มีคุณภาพ เป็นแพทย์ที่ดี มีความรู้มากกว่า 1 ศาสตร์ เป็นผู้นำ ก้าวทันโลก ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจหลากหลาย พร้อมสร้างความยั่งยืน ในทุกมิติให้เกิดแก่นักศึกษา สังคมและประเทศชาติ”
- แนวคิดเกิดการสัมมนาเพื่อวางแผนยุทธศาสตร์คณะฯ ทางด้านการศึกษา โดยปีการศึกษา 2564 เป็นปีแรกที่คณะฯ เปลี่ยนไปใช้หลักสูตรใหม่ เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้าง Pi-shape graduate เพื่อให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เนื่องจากความรู้ต่างๆ ทางการแพทย์เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง และแพทย์จำเป็นต้องมีความรู้ในศาสตร์อื่นๆ
- มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาร่วมกันของทุกหลักสูตร ที่มีความร่วมมือกันระหว่างคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยมหดิล เพื่อพิจารณาออกแบบและพัฒนา หลักสูตร/วางแผนการจัดการศึกษาร่วมกันให้กับนักศึกษาแพทย์ที่สนใจเรียนควบคู่กับการศึกษา หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
- จัดทำ MOU ร่วมกัน
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (ภาคพิเศษ)
- วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (ภาคพิเศษ)
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- จัดทำหลักสูตรร่วมระหว่าง 2 คณะ ในหลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชา
- เทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์
- คณะสาธารณสุขศาสตร์
- หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
- วิทยาลัยการจัดการ
- หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสุขภาพ
- หลักสูตรของคณะฯ
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวการออกแบบทางการแพทย์ (นานาชาติ)
- หลักสูตรต่างประเทศ
- Master of public health at UWA
- Master Degree (Health & Clinical Informatics) at OSHU

หลักสูตรนี้เป็นพหุวิทยาการซึ่ง บูรณาการศาสตร์ด้านวิศวกรรม อุตสาหการ การจัดการอุตสาหกรรม การบริหารธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์สุขภาพและศาสตร์อื่น ที่เกี่ยวข้องเข้ากับศาสตร์ด้านโลจิสติกส์ และโซ่อุปทาน โดยมุ่งผลิตมหาบัณฑิต ผู้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนา และประยุกต์พหุวิทยาการด้านโลจิสติกส์ และโซ่อุปทาน มีทักษะในการทำวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผลงานวิจัย อย่างเป็นระบบ

เน้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ขององค์กร เนื้อหาวิชาบังคับผสม ผสานระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารโครงการ มาตรฐาน เทคโนโลยีระดับสากล และต่อยอดไปยังการวางกลยุทธ์องค์กร ส่วนวิชาเลือกมีหลากหลาย อาทิ big data AI machine learning Business Intelligence IT Security และเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงการประยุกต์ระเบียบวิธีวิจัย กับเนื้อหาข้างต้น

เป็นหลักสูตรที่จัดทำร่วมกัน ระหว่างคณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล และ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเน้นเทคโนโลยีที่จำเป็นต้องใช้ใน การทางแพทย์ ทั้งด้านเครื่องมือและ ข้อมูล มีคณาจารย์ผู้มีความเชี่ยวชาญ ทั้งทางด้านการแพทย์และ เทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกันสอนในหลักสูตร ทั้งส่วนของรายวิชาปรับพื้นฐาน รายวิชาบังคับที่จําเป็น สําหรับการพัฒนา นวัตกรรมทางการแพทย์และนักศึกษาสามารถเลือกเรียนตามความสนใจได้ หลายด้าน เช่น Data Science for Medicine, AI for Medicine, IT System and Software for Medicine

เป็นหลักสูตรที่รวมศาสตร์ทางด้านการแพทย์และด้านสาธารณสุขศาสตร์ ยกระดับ การแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ เพื่อรับมือและป้องกันโรคและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ในปัจจุบัน โดยมีการจัดแผนการศึกษาร่วมกันกับหลักสูตร พ.บ. ลดการเรียนในรายวิชาที่มี เนื้อหาซ้ำซ้อน
เป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อให้บุคลากรในอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ มีความรู้ทางด้านธุรกิจ และมีทักษะการเป็นผู้บริหารชั้นนำ การจัดการการดูแลสุขภาพและองค์กรด้านสุขภาพให้มี ประสิทธิภาพสูงสุดในขณะที่ยังคงรักษาความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กรและภายในห่วงโซ่อุปทาน โดยหลักสูตรได้รับความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรหลายจากภาคส่วน เช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธบดี ซึ่งจะเชื่อมโยงช่องว่างระหว่างผู้เชี่ยวชาญ ทางธุรกิจสุขภาพ เทคนิคกับความรู้ด้านธุรกิจและการจัดการ ให้ผู้เรียนได้รับความรู้ทัศนคติ และทักษะที่จําเป็นสําหรับความสําเร็จในธุรกิจที่กำลังเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมในโลกอนาคต

ผู้เรียนได้วิจัยเกี่ยวกับการศึกษาในระบบวิทยาศาสตร์สุขภาพ เข้าใจถึงกระบวนการการ จัดการเรียนการสอนและการประเมินผล รวมถึงโอกาสในการเป็นอาจารย์หลักสูตรแพทย์หรือ หลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพต่างๆ



เป็นหลักสูตรที่เน้นการสร้าง นวัตกรรมทางการแพทย์ คิดค้น สิ่งประดิษฐ์ มาประยุกต์ใช้ในการรักษา ผู้ป่วย ผู้เรียนจะได้เรียนกระบวนการคิด และการออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรม หรือคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ จากโจทย์งาน วิจัย นำมาพัฒนาให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์ ทางการแพทย์ ในการใช้จริง เราจะสร้างให้นักศึกษามีไอเดีย ที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการแพทย์ฝึกทักษะการวิจัย เมื่อได้ สิ่งประดิษฐ์ออกมาแล้ว จะมีการประเมินเชิงเศรษฐศาสตร์หรือวิเคราะห์ทางการตลาดของ สิ่งประดิษฐ์นั้นๆ ซึ่งต้องมีการเรียนการตลาดและธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ได้ทักษะเรื่องการ เป็นผู้ประกอบการเข้าใจเรื่องสิทธิบัตร หรือทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆ จบแล้วสามารถทำงาน ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์





